วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ไม่ใช่ว่านัต ขนาดเดียวกันจะใช้ได้กับโบลท์ได้ทุกตัว

การใช้นอตที่อ่อนกับโบลท์ที่ทนแรงสูงได้
จะทำให้ เกิดการหลวมหลุด

ดังนั้นขอให้เลือกคู่โบลท์และนัตที่สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม

แล้วจะรู้ได้ไงว่า โบลท์และนัตมีความแข็งเท่าไหร่

สามารถดูได้จากตัวเลขที่ติดอยู่ที่โบลท์และนัต

ตัวเลขที่นัต    ตัวเลขจะบอกว่านัตสามารถรับแรงได้เท่าไหร่ โดยมีหน่วยเท่ากับ   ตัวเลข x10 กก/ตร.มม.
                       เช่น เลข  10  คือจะรับแรงได้ 100 กก/ตร.มม.

ตัวเลขที่โบลท์  จะมี 2 ตัว โดยมีจุทศนิยมกั้น
                        ตัวแรกหมายถึง ค่าความต้านทานแรงดึงต่ำสุด โดยมีหน่วยเท่ากับ  ตัวเลข x10 กก / ตร.มม

                        ตัวที่สองหลังจุด แสดงค่าจุดคลากโดยคิดเป็นอัตราส่วน ต่อ 10  เช่น .6 ก็หมายถึง 6/10 หรือ 60 %

ตัวอย่างเช่น 4.6 หมายความว่า โบลท์ตัวนี้มีค่าความต้านทานต่ำสุดคือ 40 กก/ตร.มม. และจุดครากหรือความต้านทานแรงดึงที่จุดคราก มีค่าเท่ากับ 60 %   ของค่าแรงดึง ซึ่งก็คือ 40 x 0.6 =24 กก/ตร. มม.

แล้วจุดครากคืออะไร  พรุ่งนี้มาต่อกัน

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

เรื่องที่ต้องระวังเกี่ยวกับการขันโบลท์และนัต

การขันโบลท์และนัต ควรจะขันให้แน่น ๆ เพื่อที่จะได้ไม่หลุดง่ายๆ หรือเปล่า

การขันโบลท์และนัตให้แน่นเกินไปอาจจะทำให้โบลท์และนัทขาดได้ ช่วงของแรงในการขันโบลท์และนัตแต่ละตัวจะมีอยู่  ถ้าขันเกินช่วงไป จะเกิดผลในทางลบได้

ถ้าขันแน่นเกินไป เมื่อมีแรงภายนอกเพียงเล็กน้อยมากระทำ จะเกิดการแตกหักได้ นอกจากนี้
ถ้าเกิดการยืดตัวแล้วจะไม่สามารถกลับมาสู่สภาพเดิมได้ เป็นต้นเหตุของการหลวมตัวในภายหลัง

***พิจารณาค่าแรงที่ใช้ในการขันที่เหมาะสมจะมีค่าประมาณ
0.6-0.7 ของแรงที่จุดครากของโบลท์

เพื่อความปลอดภัยต้องตรวจสอบความหลวมของน๊อตและโบลท์อย่างสม่ำเสมอ

โบลท์ยึดเครื่องจักรและอุปกรณืแล้วจะเกิดการหลวมตัวอย่างรวดเร็ว หลังจากติดตั้ง
เครื่องจักรไประยะหนึ่งแล้ว

วิธีการตรวจสอบทำได้ง่ายๆ คือการทำเครื่องหมายไว้ จะสามารถสังเกต
การหลวมของโบลท์ได้

**อย่าคิดว่า ขันยึดโบลท์ไม่ครบจำนวนจะไม่เกิดปัญหา

ตัวอย่างการขันโบลท์ 4 ตัว ถ้าตัวหนึ่งเกิดหลวม อีกสามตัวที่เหลือจะรับแรงเพิ่มขึ้นตัวละ 33 %
แล้วจะทำให้โบลท์ที่เหลือเกิดการหลวมอย่างรวดเร็ว

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงในการบำรุงรักษา Bolt และ Nut

ในการใส่ Bolt และ Nut จากบนลงล่างนั้น
ต้องใส่ Bolt ไว้ด้านล่างและใส่ Nut ไว้ด้านบน
เหตุผลคือ

เหตุผลคือ
1.การตรวจสอบการหลวมหรือหลุดตกทำได้ง่าย ตรวจพบได้รวดเร็ว
2.การขันนัตทำได้ง่าย

**การขันยึดจะยึด Bolt ให้แน่นแล้วขัน Nut

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

ความเข้าใจผิดในการเรียก น๊อต

หลายคน(ส่วนใหญ่)เข้าใจผิดว่า Bolt  คือน๊อต
ความจริงคือ
น๊อต คือ  nut
ส่วนที่เราเรียกน๊อตนั่นคือ สกรู หรือ Bolt

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

BOLT NUT SCREW

ประโยชน์

แบ่งประเภทออกเป็น

1 สกรู(SCREW)คือ สลักเกลียวที่มีขนาดเล็ก

สกรู(SCREW)คือ  สลักเกลียวที่มีขนาดเล็ก  บางแบบมีเกลียวตลอดทั้งตัวสกรูจะมีหัวแตกต่างกัน มีทั้งหัวกลม หัวหกเหลี่ยม หัวสี่เหลี่ยม  และหัวฝั่ง บนหัวจะทำเป็นร่องผ่าเอาไว้หรือเป็นหลุมลงไปใช้สำหรับขันหรือคลายเกลียว สกรูตัวเล็กๆส่วนใหญ่จะมีปลายเรียวดังรูป

2.โบลต์(BOLT)

โบลต์(BOLT)คือ สลักเกลียวอย่างหนึ่งมีหลายรูปแบบ รูปร่างของโบลต์ด้านหนึ่งมีหัว ลำตัวเกลียว ส่วนใหญ่โบลต์จะใช้ควบคู่กับเกลียวตัวเมีย(NUT)เสมอ 

3.เกลียวตัวเมีย หรือ NUT

นัต(NUT)คือ เกลียวตัวเมียที่ใช้คู่กับสลักเกลียว นัตจะมีเกลียวอยู่ภายใน นัตที่ใช้นัตหัวกลม นัตหัวเหลี่ยม นัตหัวสี่เหลี่ยม และนัตบางจะมีปีกเพื่อใช้สำหรับขันหรือคลายนัตออก

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติของอาชีพ วิศวกรรม

ในสมัยเริ่มแรกนั้นเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการทหาร กล่าวคือ เป็นงานในลักษณะของการสร้างอาวุธส่งคราม เช่น เครื่องยิงก้อนหิน ปืนใหญ่ เครื่องกระทุ้งประตูเมือง การก่อสร้างกำแพง ป้อมยาม คูเมือง เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นวิศวกรรุ่นแรกคือ วิศวกรการทหาร (Military Engineer)

 วิศวกรพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นทหารซึ่งจะต้องเข้าร่วมรบในสงคราม แต่หน้าที่พิเศษแตกต่างจากทหารอื่นๆ คือต้องทำการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว

ต่อมาถึงสมัยที่อำนาจของเจ้าผู้ครองนครและอาณาจักรต่างๆ ถึงจุดเสื่อม การพาณิชยกรรมได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นแทนการรบขยายอาณาเขต ประมาณ ปี ค.ศ. 1750 คือ ประมาณสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จึงเกิดมีวิศวกรพลเรือน (Civil Engineer) ซึ่งทำงานต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหารโดยตรง เช่น การสร้างถนน ขุดคลอง เป็นต้น และวิศวกรเหล่านี้ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสถาบัน Institute of Civil Engineer (London)   ขึ้นในปี ค.ศ. 1828

ยิ่งวงการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นเท่าไร ความจำเป็นที่จะต้องจำแนกสาขาเฉพาะของวิศวกรยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น เมื่อการใช้เครื่องจักร เครื่องกลมีมากขึ้น วิศวกรพลเรือนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลก็มากขึ้นไปด้วย วิศวกรพลเรือน จำนวนหนึ่งจึงแยกตนเองออกมาตั้งเป็นสาขาใหม่ คือ วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering) วิศวกรเครื่องกลจะทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกำเนิดพลัง (engine) เครื่องจักรแปรรูปวัสดุ และผลิตสินค้า โรงงานขนาดใหญ่และอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุ (material handling equipment) และความหมายของ วิศวกรรมพลเรือนแต่เดิม (Civil Engineering) นั้นก็เปลี่ยนมาหมายความถึงวิศวกรรมโยธา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร ถนน คลอง ฯลฯ และยังคงใช้คำว่า Civil เหมือนเดิม

ในสมัยต่อมาเมื่อพลังงานไฟฟ้าเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย วิศวกรเครื่องกลบางกลุ่มที่ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกำเนิดไฟฟ้าและระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าก็แยกสาขาออกเป็น
วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) เพิ่มขึ้นมาอีกสาขาหนึ่ง

จากสาขาหลักใหญ่ๆ 3 สาขาของวิศวกรรมศาสตร์
คือ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมไฟฟ้า

สาขาย่อยอื่นๆ ของวิศวกรรมศาสตร์ก็เจริญเติบโตขึ้นมาอีกมากมาย
เช่น
วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)
วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)
วิศวกรรมเหมืองแร่และโลหะวิทยา (Mining and Metallurgical Engineering)
วิศวกรรมการเดินอากาศ (Aeronautical Engineering)
วิศวกรรมการเกษตร (Agricultural Engineering)
วิศวกรรมเครื่องกลเรือ (Marine Engineering)
วิศวกรรมอิเลคทรอนิค (Electronic Engineering)
วิศวกรรมนิวเคลียร์ (Nuclear Engineering)
และยังมีสาขาอื่นๆ อีกมากมายไม่สามารถนำมาระบุให้ครบถ้วนในที่นี้ได้