การใช้นอตที่อ่อนกับโบลท์ที่ทนแรงสูงได้
จะทำให้ เกิดการหลวมหลุด
ดังนั้นขอให้เลือกคู่โบลท์และนัตที่สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม
แล้วจะรู้ได้ไงว่า โบลท์และนัตมีความแข็งเท่าไหร่
สามารถดูได้จากตัวเลขที่ติดอยู่ที่โบลท์และนัต
ตัวเลขที่นัต ตัวเลขจะบอกว่านัตสามารถรับแรงได้เท่าไหร่ โดยมีหน่วยเท่ากับ ตัวเลข x10 กก/ตร.มม.
เช่น เลข 10 คือจะรับแรงได้ 100 กก/ตร.มม.
ตัวเลขที่โบลท์ จะมี 2 ตัว โดยมีจุทศนิยมกั้น
ตัวแรกหมายถึง ค่าความต้านทานแรงดึงต่ำสุด โดยมีหน่วยเท่ากับ ตัวเลข x10 กก / ตร.มม
ตัวที่สองหลังจุด แสดงค่าจุดคลากโดยคิดเป็นอัตราส่วน ต่อ 10 เช่น .6 ก็หมายถึง 6/10 หรือ 60 %
ตัวอย่างเช่น 4.6 หมายความว่า โบลท์ตัวนี้มีค่าความต้านทานต่ำสุดคือ 40 กก/ตร.มม. และจุดครากหรือความต้านทานแรงดึงที่จุดคราก มีค่าเท่ากับ 60 % ของค่าแรงดึง ซึ่งก็คือ 40 x 0.6 =24 กก/ตร. มม.
แล้วจุดครากคืออะไร พรุ่งนี้มาต่อกัน
Maintenanceworkshop
เทคนิคและความรู้ในงานซ่อมบำรุง และวิศวกรรมต่างๆ
วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554
เรื่องที่ต้องระวังเกี่ยวกับการขันโบลท์และนัต
การขันโบลท์และนัต ควรจะขันให้แน่น ๆ เพื่อที่จะได้ไม่หลุดง่ายๆ หรือเปล่า
การขันโบลท์และนัตให้แน่นเกินไปอาจจะทำให้โบลท์และนัทขาดได้ ช่วงของแรงในการขันโบลท์และนัตแต่ละตัวจะมีอยู่ ถ้าขันเกินช่วงไป จะเกิดผลในทางลบได้
ถ้าขันแน่นเกินไป เมื่อมีแรงภายนอกเพียงเล็กน้อยมากระทำ จะเกิดการแตกหักได้ นอกจากนี้
ถ้าเกิดการยืดตัวแล้วจะไม่สามารถกลับมาสู่สภาพเดิมได้ เป็นต้นเหตุของการหลวมตัวในภายหลัง
***พิจารณาค่าแรงที่ใช้ในการขันที่เหมาะสมจะมีค่าประมาณ
0.6-0.7 ของแรงที่จุดครากของโบลท์
การขันโบลท์และนัตให้แน่นเกินไปอาจจะทำให้โบลท์และนัทขาดได้ ช่วงของแรงในการขันโบลท์และนัตแต่ละตัวจะมีอยู่ ถ้าขันเกินช่วงไป จะเกิดผลในทางลบได้
ถ้าขันแน่นเกินไป เมื่อมีแรงภายนอกเพียงเล็กน้อยมากระทำ จะเกิดการแตกหักได้ นอกจากนี้
ถ้าเกิดการยืดตัวแล้วจะไม่สามารถกลับมาสู่สภาพเดิมได้ เป็นต้นเหตุของการหลวมตัวในภายหลัง
***พิจารณาค่าแรงที่ใช้ในการขันที่เหมาะสมจะมีค่าประมาณ
0.6-0.7 ของแรงที่จุดครากของโบลท์
เพื่อความปลอดภัยต้องตรวจสอบความหลวมของน๊อตและโบลท์อย่างสม่ำเสมอ
โบลท์ยึดเครื่องจักรและอุปกรณืแล้วจะเกิดการหลวมตัวอย่างรวดเร็ว หลังจากติดตั้ง
เครื่องจักรไประยะหนึ่งแล้ว
วิธีการตรวจสอบทำได้ง่ายๆ คือการทำเครื่องหมายไว้ จะสามารถสังเกต
การหลวมของโบลท์ได้
**อย่าคิดว่า ขันยึดโบลท์ไม่ครบจำนวนจะไม่เกิดปัญหา
ตัวอย่างการขันโบลท์ 4 ตัว ถ้าตัวหนึ่งเกิดหลวม อีกสามตัวที่เหลือจะรับแรงเพิ่มขึ้นตัวละ 33 %
แล้วจะทำให้โบลท์ที่เหลือเกิดการหลวมอย่างรวดเร็ว
เครื่องจักรไประยะหนึ่งแล้ว
วิธีการตรวจสอบทำได้ง่ายๆ คือการทำเครื่องหมายไว้ จะสามารถสังเกต
การหลวมของโบลท์ได้
**อย่าคิดว่า ขันยึดโบลท์ไม่ครบจำนวนจะไม่เกิดปัญหา
ตัวอย่างการขันโบลท์ 4 ตัว ถ้าตัวหนึ่งเกิดหลวม อีกสามตัวที่เหลือจะรับแรงเพิ่มขึ้นตัวละ 33 %
แล้วจะทำให้โบลท์ที่เหลือเกิดการหลวมอย่างรวดเร็ว
วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554
สิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงในการบำรุงรักษา Bolt และ Nut
ในการใส่ Bolt และ Nut จากบนลงล่างนั้น
ต้องใส่ Bolt ไว้ด้านล่างและใส่ Nut ไว้ด้านบน
เหตุผลคือ
เหตุผลคือ
1.การตรวจสอบการหลวมหรือหลุดตกทำได้ง่าย ตรวจพบได้รวดเร็ว
2.การขันนัตทำได้ง่าย
**การขันยึดจะยึด Bolt ให้แน่นแล้วขัน Nut
ต้องใส่ Bolt ไว้ด้านล่างและใส่ Nut ไว้ด้านบน
เหตุผลคือ
เหตุผลคือ
1.การตรวจสอบการหลวมหรือหลุดตกทำได้ง่าย ตรวจพบได้รวดเร็ว
2.การขันนัตทำได้ง่าย
**การขันยึดจะยึด Bolt ให้แน่นแล้วขัน Nut
วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554
ความเข้าใจผิดในการเรียก น๊อต
หลายคน(ส่วนใหญ่)เข้าใจผิดว่า Bolt คือน๊อต
ความจริงคือ
น๊อต คือ nut
ส่วนที่เราเรียกน๊อตนั่นคือ สกรู หรือ Bolt
วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)